Tag Archives: ผู้ลงทุนรายย่อย

การนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุน

เครื่องมือในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย

ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ กองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบโดยมีจุดมุ่งหมายให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ โดยความเสี่ยงในการที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่มีการลงทุนประเภทใดที่ไม่มีความเสี่ยง

แนวความคิดของกองทุนรวม

คือการที่ผู้ลงทุนรายย่อยหลายๆรายนำเงินมารวมกันเพื่อลงทุน โดยมอบหมายให้ผู้จัดการกองทุนซึ่งมีความชำนาญ นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุน โดยผู้ลงทุนแต่ละรายจะได้รับผลตอบแทนตามสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมนั้น เมื่อผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน ผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินนั้นไปซื้อสินทรัพย์ต่างๆตามที่กำหนดไว้ในนโยบายของกองทุนนั้นๆโดยในแต่ละวัน ผู้จัดการกองทุนจะคำนวนมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม เพื่อที่จะได้ทราบว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนเป็นเท่าใด ถ้าผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วยก็จะเพิ่มขึ้น

เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

– กองทุนไม่จ่ายเงินปันผล
– ห้ามนำหน่วยลงทุนของกองทุนไปจำหน่ายจ่ายโอนหรือนำไปเป็นประกัน
– หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนดที่ผู้ลงทุนจะมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และถือหน่วยลงทุนมาน้อยกว่าห้าปี ผู้ลงทุนต้องนำเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วงห้าปีปฏิทินล่าสุดไปคืนกรมสรรพากร และนำเงินกำไรส่วนเกินทุนที่เกิด- จากการขายคืนหน่วยลงทุนนั้นไปคำนวณรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ในปีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น
– เงินลงทุนมาจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
– ผู้ลงทุนที่มีเงินได้ต้องลงทุนแบบผูกพัน คือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แต่เมื่อมีความจำเป็นอาจระงับการลงทุนได้ไม่เกินหนึ่งปีติดต่อกัน แต่หากผู้ลงทุนไม่มีเงินได้ในปีใดหรือหลายปีติดต่อกัน ผู้ลงทุนสามารถว่างเว้นการลงทุนได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุนและเมื่อมีเงินได้ก็ให้ลงทุนต่อไป โดยนับอายุการลงทุนตั้งแต่ปีแรกที่ลงทุน
– เงินลงทุนขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสามของรายได้ หรือไม่น้อยกว่าห้าพันบาทต่อปีอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีจำนวนเงินต่ำกว่า ในการคำนวณรวมเงินลงทุนขั้นต่ำให้รวมเงินลงทุนในทุกๆกองทุนที่ลงทุนในปีนั้นๆ
– เงินลงทุนขั้นสูงต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้ แต่ต้องไม่เกินสามแสนบาทต่อปี ในการคำนวณรวมเงินลงทุนขั้นสูงให้รวมเงินลงทุนในทุกๆกองทุนที่ลงทุนในปีนั้นๆ