Category Archives: แนวคิดการทำธุรกิจ

การช่วยเหลือทางกองทุนสำหรับชุมชนเพื่อความมั่นคง

สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันมายาวนาน  มีสวัสดิการแบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง  แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่าง ๆที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์  องค์กรการเงิน  วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ในปี 2548 ขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับกองทุนสวัสดิการโดยการริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบล โดยให้มีการสมทบงบประมาณจากสามฝ่ายคือ ทุนจากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน ทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม  หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐบาลกลางและการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองทั่วประเทศ 5,500 กองทุน สมาชิกรวม 3.41 ล้านคน

สวัสดิการชุมชนคือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในท้องถิ่น ที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนความเข้าใจความเชื่อมั่นในแนวคิดอุดมการณ์สวัสดิการชุมชน ทีเน้นเรื่องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามแนวคิด ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรีให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทุนภายในจัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และปัญหาความต้องการของชุมชน ทั้งสวัสดิการที่ใช้เงินกองทุนและสวัสดิการที่เป็นการดูแลช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนสมาชิก สมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนครอบคลุมประชากรทั้งตำบล  กระจายทุกช่วงวัย  เพราะยิ่งมีสมาชิกมาก เงินสมทบจะมีมาก ความเสี่ยงในการที่จ่ายเงินสวัสดิการจะยิ่งน้อยลงเพราะมีการกระจายความเสี่ยงออกไปมากขึ้นกองทุนที่มีสมาชิกน้อยจะมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนที่มีสมาชิกมากมีความมั่นคงทางการเงิน เพราะสมาชิกจ่ายเงินสมทบครบถ้วน สม่ำเสมอ  มีการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ มีรายรับจากแหล่งอื่นๆของกองทุนอย่างต่อเนื่อง  สัดส่วนการจ่ายสวัสดิการให้สมาชิกและค่าใช้บริหารจัดการสัมพันธ์กับรายรับ  เน้นการพึ่งพาทุนภายในชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญการบริหารจัดการเปิดเผยโปร่งใส ระบบบัญชีการเงินถูกต้องทันเวลาและสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงานสู่สมาชิก  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินสำหรับชุมชน


การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินสำหรับชุมชนเป็นการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและสถาบันทางการเงินเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้านซึ่งการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ การสร้างรายได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวมทั้งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนอีกด้วย ซึ่งแนวทางการบริหารในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านนั้นมีหลักการสำคัญเพื่อสร้างความพร้อมภายในชุมชนที่จะทำให้เกิประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชนและเป็นแหล่งของการสร้างอาชีพรายได้ภายในครอบครัว
สำหรับปัญหาของการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาในด้านการบริหารจัดการภายในสถาบันการเงินชุมชนและกฎระเบียนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.ผู้นำ เช่น คณะกรรมการไม่มีความรู้ ความสามารถในด้านการจัดการเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์ ขาดทักษะการประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.ด้านสำนักงาน เนื่องจากการขาดอุปกรณ์สำนักงาน การจัดเก็บเอกสารไม่มีความชัดเจน
3.การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประชาสัมพันธ์ การปรึกษาหารือและการช่วยเหลือจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
4.ด้านสมาชิก ซึ่งขาดวินัยทางการเงินของตนเอง
5.ด้านเงินทุน เนื่องจากขาดเงินทุนสำรองในการบริหารจัดการไม่มีระบบประกันความเสี่ยงด้านการเงิน
6.การส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านไม่มีเวลาให้คำแนะนำและติดตามการทำงานของกองทุน
7.ด้านกฎหมายและระเบียน อย่างเช่น ความไม่ชัดเจนของกฎหมายทำให้เกิดความไม่เข้าใจต่อกองทุนต่างๆ
ทั้งนี้แนวทางสำหรับการพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินของชุมชนที่สำคัญคือ
1.ปัจจัยภายใน คือ ผู้นำ ซึ่งเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหาร มีความซื่อสัตย์ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน มีความรู้ความสามารถ และด้านการบริหารจัดการ โดยการมีบุคลากรสนับสนุนด้านบัญชี มีคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ มีการประชุมในทุกๆเดือน และมีการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งการมีกฎระเบียนที่ชัดเจน

2.ปัจจัยภายนอก คือ การสนับสนุนด้านการเงิน ให้ความรู้ด้านบัญชีและระบบคอมพิวเตอร์รวมทั้งการให้คำปรึกษาและการติดตามผลอย่างมีระบบ
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนากองทุนและสถาบันทางการเงินที่ยั่งยืนนั้นควรจะมีการสร้างกลไกในการทำงานที่สามารถส่งเสริมโดยการจัดทำระเบียบ กติกาของกองทุน และควรจะต้องมีผู้บริหารและคณะกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ มีการแบ่งปันประโยชน์และการจัดสวัสดิการแก่ชุมชนด้วย เพราะหากมีการบริหารจัดการที่ดีก็จะทำให้กระบวนการขับเคลื่อนทางการเงินของชุมชนมีความยั่งยืนไปด้วย

การส่งเสริมและพัฒนากองทุนเพื่อสตรีอย่างเป็นระบบ

ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสตรีจำนวนมาก

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวการขาดโอกาสในสังคม ปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติ และที่สำคัญโอกาสในการดึงศักยภาพของสตรีมีน้อย จึงต้องส่งเสริมและพัฒนาอีกมาก ดังนั้นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจึงถูกจัดเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและเสริมศักยภาพสตรีในทุกมิติ โดยนำศักยภาพและความแตกต่างระหว่างหญิงชาย ซึ่งนับว่าเป็นพลังสังคมอย่างหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้มีการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้ง เพื่อพัฒนาและขยายศักยภาพบทบาทสตรีให้เป็นพลังทางสังคมที่เข้มแข็ง สามารถช่วยนำพาและร่วมสร้างสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างสร้างสรรค์

การมีส่วนร่วมคิด ร่วมกันแก้ไขปัญหา และส่วนร่วมในการถกคิดปัญหาจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ในการรับฟังข้อคิดเห็น เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุง และให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มสตรี เพื่อให้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีนั้นพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม มีแหล่งเงินทุนสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสตรี เป็นลักษณะของแหล่งเงินทุนที่จะเน้นกิจกรรมในการเสริมสร้างทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาสตรี การรณรงค์ให้เข้าใจองค์กรสตรี เข้าใจผู้หญิงในทุกๆมิติ ในทุกเพศ และทุกวัย เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้กิจกรรมในการรณรงค์รวมถึงกิจกรรมในการส่งเสริมบทบาทหรือคุณภาพของสตรี

ยกระดับและเสริมศักยภาพสตรีในทุกมิติ

สร้างสังคมเสมอภาค สร้างสรรค์และสันติสุข โดยนำศักยภาพและความแตกต่างระหว่างหญิงชาย ซึ่งเป็นพลังสังคมอย่างหนึ่ง ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้มีการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและขยายศักยภาพบทบาทสตรี ให้เป็นพลังทางสังคมที่เข้มแข็ง สามารถช่วยนำพา และร่วมสร้างสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างสร้างสรรค์ และมีสันติสุข เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรี ขับเคลื่อนกองทุนให้สตรีได้รับประโยชน์จากกองทุนนี้ในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจุบันผู้หญิงเข้าไปมีส่วนในการทำงานและดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรี ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ หรือแม้แต่การทำงานที่เมื่อก่อนมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้ เช่น การขับรถส่งของรถเมล์ หรือแท็กซี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำงานเล็กๆน้อยๆอยู่กับบ้าน ซึ่งการมีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เม็ดเงินลงไปสู่กลุ่มเป้าหมายโดยตรงและควรเปิดกว้างให้ผู้หญิงทุกกลุ่มอาชีพสามารถเข้าถึงกองทุนดังกล่าวได้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพและขยายกิจการของตนเองได้อย่างเท่าเทียมกันให้มากที่สุด โดยอาจจะเลือกพิจารณาสนับสนุนกลุ่มผู้หญิงที่ด้อยโอกาส หรือที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับแรก

การฝึกฝนให้เด็กรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นตั้งแต่ยังเด็กให้ติดเป็นนิสัย

5

การให้เด็กวัยเรียนรู้จักกับทุกอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่านเข้ามา และช่วยให้เขาสามารถหาทางออกที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหา ควรส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง และปรับตัวในสังคมอย่างเหมาะสม โดยฝึกฝนแนะนำ ให้คำชมเมื่อเด็กทำได้ดี และแก้ไข ชักจูง แนะนำเมื่อเด็กทำตัวไม่เหมาะสม จะเป็นการสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ที่เรารู้จักกันดีในนามของอีคิว ซึ่งเป็นทักษะหรือศิลปะของการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การชี้ให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล มองข้ามความไม่ถูกใจ ชี้ให้เห็นข้อดีของคนอื่น การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม เรียนรู้เรื่องความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักผิดหวัง และรู้จักหาทางขจัดความรู้สึกผิดหวังไม่ให้มีมากหรือนานเกินไป พยายามทำใหม่ในครั้งต่อไป จะเป็นการเสริมสร้างทักษะของการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การแก้ปัญหาหรือหาทางออก และการปรับตัว ซึ่งจะเป็นฐานให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น การเตรียมตัวลูกให้ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่เองก็ควรปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงและการฝึกฝนเช่นกัน ให้ทันความเปลี่ยนแปลงในสังคม

การฝึกฝนในระยะแรกโดยทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง ชักจูงให้เด็กทำตาม ฝึกซ้ำๆจนเด็กทำได้และทำสม่ำเสมอจนทำเป็นนิสัย ฝึกจากเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อนไปสู่งานที่ยากและซับซ้อน ให้รางวัลตามสมควรเพื่อจูงใจให้ทำต่อไป แล้วค่อยๆ ลดการกำกับดูแลลงทีละน้อย ลดรางวัลที่เป็นข้าวของเงินทอง ซึ่งเป็นรูปธรรมให้เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะเมื่ออยู่ชั้นประถมปลาย เช่น ให้เขารู้สึกภูมิใจในตัวเองเมื่อเขาช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ดี รู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้ช่วยเหลืองานบ้านหรือช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่จะทำเพื่อหวังรางวัล ขนมโปรด เงินทอง แต่กระนั้นคำชมเชยจากพ่อ แม่ยังควรมีอยู่แต่ใช้ห่างขึ้นจนเด็กรู้จักให้รางวัลกับตัวเอง อันจะเป็นทักษะของการรู้จักชื่นชมตนเองติดตัวเขาไป หากรวมกับทักษะด้านอื่นๆอย่างเหมาะสมแล้ว จะเกิดความสุขแท้จริงที่มาจากภายในใจของตนเอง ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขยั่งยืนจากตัวตนภายในไปตลอดชีวิต

การช่วยเหลือจากธุรกิจมูลนิธิกองทุนเยาวชนเพื่อการศึกษา

images

มูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนาก่อกำเนิดขึ้นจากความรัก ความเมตตา และจิตอันเป็นกุศลของผู้มีจิตศรัทธาในงานช่วยเหลือเด็กและเยาวชนผู้ด้อย โอกาส ร่วมกับ สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยต้องการให้เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสแต่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ยอมแพ้พ่ายต่อชีวิตที่ยากลำบากได้รับการสนับสนุนในด้านเงินทุนประกอบ อาชีพเสริมทักษะ และมีรายได้เพิ่มพูน นอกเหนือจาก การเรียนตามปกติเป็นการช่วยตัวเอง และครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง เด็กและเยาวชนที่ขอรับทุนอาจเสนอขอเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลหรือ ร่วมเสนอขอเป็นรายกลุ่มก็ได้ การได้รับเงินทุนสนับสนุนย่อมนำมาซึ่งทักษะในการประกอบอาชีพ และรายได้เพิ่มเติมในการช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาอีกส่วนหนึ่งด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ เด็ก และเยาวชน ผู้รับทุนย่อมมีกำลังใจในการยืนหยัดต่อสู้ชีวิตต่อไป เมื่อรู้ว่ายังมีผู้ใจบุญให้การสนับสนุนอยู่ หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีจิตอันเป็นกุศล และประสงค์ที่จะช่วยสนับสนุนงานของมูลนิธิ ขอได้โปรดติดต่อขอบริจาคหรือเผื่อแผ่ความสุขของท่านเพียงไม่มากนัก แต่ยิ่งใหญ่มากในความรู้สึกของเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสที่ มูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา

เพื่อสนับสนุนโครงการพิเศษที่สัมพันธ์กับการประกอบอาชีพของเยาวชน และที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยตรงด้านการมีรายได้เพื่อสนับสนุนเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ  หรือความถนัดเฉพาะทาง เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้มีอาชีพตามความสามารถพิเศษ หรือความถนัดเฉพาะทางเหล่านั้นเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาอาชีพของเยาวชนโดยเฉพาะที่เป็นการริเริ่มหรือนวัตกรรมเพื่อเป็นการร่วมมือกับองค์การอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาเยาวชนของประเทศ และดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด ประธานมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนาคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชามหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิฯได้สรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและข้าราชการที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานของมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา เน้นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพให้แก่เยาวชน/กลุ่มเยาวชน “เงินทุน” หมายความว่า เงินจากกองทุนที่ใช้สนับสนุนการประกอบอาชีพของเยาวชน ซึ่งเป็นดอกผลหรือเงินจากกองทุนที่ได้รับการอนุมัติเป็นครั้งคราวไป “เยาวชน” หมายความว่า เยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่จะให้การสนับสนุนด้านอาชีพที่มีอายุตั้งแต่ 15-30 ปี “กลุ่มเยาวชน” หมายความว่า กลุ่มเยาวชนเป้าหมายที่จะให้การสนับสนุนด้านอาชีพที่มีอายุตั้งแต่ 15-30 ปี ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป