Category Archives: แนวคิดการทำธุรกิจ

โครงการชุดนักเรียน และทุนการศึกษา เพื่อเด็กที่ขาดแคลน

fond-am.orgในปัจจุบันมีเด็กมากมายที่มีความประพฤติดี มีความขยันตั้งใจเรียน แต่กลับมีอุปสรรคในการขาดทุนการศึกษา ทำให้ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเหมือนเด็กคนอื่นๆ ทำให้มีหลายๆกองทุนร่วมกันจัดตั้งเพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนของพ่อแม่ ทางด้านผู้ปกครองเองควรให้เด็กตระหนักถึงการทำคุณความดี  สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนเหมือนเด็กคนอื่นๆที่มีการศึกษา เสริมสร้างให้มีคุณธรรม จริยธรรมอันดี และสังคมไทยจะให้โอกาสแก่ผู้ทำความดีเสมอ

แม้ในปัจจุบันจะมีกองทุนการศึกษาต่างๆมากมาย แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเด็ก ผู้ปกครองยังมีภาระด้านอื่นๆอีก เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน เป็นต้น ทำให้นอกจากจะมีทุนการศึกษาแล้วยังครอบคลุมไปถึงการแบ่งปันอุปกรณ์การศึกษาทุกชนิด ชุดนักเรียน รองเท้านักเรียน ถุงเท้านักเรียน ตลอดจนค่าเทอม ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน สำหรับเด็กนักเรียน จะสามารถช่วยให้เด็กมีกำลังใจ  มอบความฝันและความหวังให้เด็กมีอนาคตที่ดีขึ้นได้

นอกจากทุนการศึกษาแล้ว เด็กๆหลายคนยังขาดชุดนักเรียน ต่างจากในเมืองใหญ่ที่ครอบครัวมีความพร้อมในเรื่องทุนทรัพย์  คงไม่แปลกที่เปิดเทอมแต่ละครั้งพวกเขาจะมาโรงเรียนในวันเปิดเทอมพร้อมกับชุดใหม่  รองเท้าถุงเท้าคู่ใหม่  กระเป๋านักเรียนใบใหม่ แต่เด็กๆที่อาศัยอยู่ตามชนบทกับแตกต่างยิ่งนัก พวกเขามีแค่ชุดนักเรียนตัวเก่าที่แทบจะขาด มีเพียงเท้าเปล่า กระเป๋านักเรียนก็ทำจากกระสอบปุ๋ย ที่ผ่านมามีเด็กหลายคนไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินซื้อชุดให้ ทำให้เกิดโครงการ สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนเหมือนเด็กคนอื่นๆ  เพื่อเปิดโอกาสให้ได้ร่วมกันแบ่งปันน้ำใจให้กับเด็กๆในชนบท  เสื้อผ้าชุดนักเรียนที่ใช้แล้วยังเกิดประโยชน์มากมายกับเด็กๆนั่นคือ โครงการชุดนักเรียนเพื่อน้องที่ขาดแคลนได้เรียนหนังสือโดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะมอบชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และอุปกรณ์กีฬา อีกทั้งโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมตระเวนมอบชุดนักเรียนให้แก่เด็ก ๆ ตามโรงเรียนต่าง ๆโดยปีนี้ทางกองทุนเสื้อผ้ามือสองได้ตั้งเป้าหมายที่จะมอบชุดนักเรียนมือสอง  อุปกรณ์การเรียน  สมุด  ดินสอ  และอุปกรณ์กีฬา  ตามโรงเรียนต่าง ๆ

โครงการต่างๆของมูลนิธิ

โครงการรณรงค์แก้ไขภาวะโลกร้อน แม้ไทยจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นพวกเราต้องร่วมลดภาวะโลกร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มูลนิธิฯ ดำเนินงานแบบการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อน ผ่านการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างศูนย์ข้อมูลบนเว็บไซต์ วิจัยสภาวะสิ่งแวดล้อม และส่งเสิมการปลูกป่าทั่วประเทศ

โครงการกองทุนฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ โครงการกองทุนฉุกเฉินเพื่อผู้ประสบภัยธรรมชาติ ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความสูญเสียในด้านต่างๆ และเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวจึงมีการรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัย ธรรมชาติแก่สาธารณชน และร่วมกับองค์กรอื่นๆ และชุมชนในการซักซ้อมเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ และค้นคว้าสาเหตุ เพื่อป้องกันชีวิตของมนุษย์ต่อภัยธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ ในอนาคต

โครงการห่มผ้าให้น้อง มุ่งในการสนับสนุนเครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และส่งเสริมอุปกรณ์การเรียนให้แก่ชุมชนห่างไกล และด้อยโอกาส ซึ่งได้มีการสำรวจความต้องการของชุมชนที่เห้นว่าขาดแคลนและต้องการปัจจัยต่างๆ ทั้งนี้ซึ่งได้ดำเนินงานร่วมกับชุมชนรวมถึงการสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยการส่งเสริมอาชีพที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นสำคัญ มูลนิธิฯ ได้ดำเนินโครงการในชุมชนกว่า 20 ชุมชนในพื้นที่เขตภาคเหนือ เพื่อต้านภัยหนาว รวมไปถึงการปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

โครงการห้องสมุดสีเขียวเพื่อน้อง “ปัจจุบันคนไทยอ่านหนังสือ 7 บรรทัดต่อปีเท่านั้น” จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2547
เพื่อมุ่งที่จะสร้างหรือปรับปรุงห้องสมุดในโรงเรียนที่ห่างไกลและขาดแคลนอย่างหนัก โดย ทำงานร่วมกับ พร้อมทั้งนำกระบวนการกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้เกิดนิสัยรักการอ่าน และสร้างแกนนำโดยการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการบริหารห้องสมุดของตนเอง ได้อย่างยั่งยืน และสิ่งสำคัญคือการให้ชุมชนร่วมกันลงแรงสร้างห้องสมุดเพื่อให้เป็นห้องสมุดของชุมชน เพื่อชุมชน โดยชุมชน

โครงการอนุรักษ์พะยูน มูลนิธิฯ ร่วมกับองค์กรชุนชนและหน่วยงานต่างๆ ในการหาแนวทางในการอนุรักษ์พะยูนโดยให้ชุมชนเป็นกำลังหลัก โดย อีกทางยังจัดเวทีพะยูนสัญจรไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา ความสำคัญของระบบนิเวศน์ และปลุกจิตสำนึกให้ร่วมอนุรักษ์พะยูน รวมถึงจัดทำสื่อรณรงค์ต่างๆ

โครงการอาสาสมัครสีขียว อาสาสมัครสีเขียวคือ การรวบรวมกลุ่มคนที่มีใจรักสิ่งแวดล้อม ห่วงใยโลก ร่วมกันเดินทางศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ในวิชาแขนงต่างๆ ให้แก่เด็กๆ ในชุมชนห่างไกล เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตใจสัมพันธ์กับธรรมชาติ และพร้อมจะดูแลธรรมชาติดุจดั่งบ้านของตนเอง

จุดมุ่งหมายของมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี

การละเมิดสิทธิของเด็กและสตรี เป็นปัญหาที่สำคัญและหยั่งรากลึกในสังคมไทย ผู้ที่ด้อยโอกาสมักจะได้รับการกดขี่ข่มเหงจากผู้ที่มีอำนาจมากกว่าอยู่เสมอ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนในการช่วยกันสอดส่องดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ การทำร้าย การทารุณกรรม เกิดขึ้นในหมู่ของสตรีและเด็ก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอในสังคม มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสโดยไม่หวังผลกำไร โดยมีนางปวีณา หงสกุล เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานของมูลนิธิ ฯ เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ และดำเนินการเรื่อยมา

จุดมุ่งหมายของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ที่ตั้งขึ้นมานั้นจะทำในกรณีที่ได้รับการร้องขอหรือร้องเรียนให้เข้าไปช่วย ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปช่วยเหลือแล้วนั้นมูลนิธิฯจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย จะทำก็ต่อเมื่อเข้ามาร้องขอให้เข้าไปช่วย ไม่ว่าจะเป็นกรณีเด็กถูกข่มขืน โดนทารุณกรรม ถูกละเมิดสิทธิ ใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย กรณีต่างๆเหล่านี้ เมื่อมูลนิธิฯได้รับการร้องทุกข์แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการเชิญเจ้าทุกข์เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อให้ข้อมูล ถ้าเห็นว่ามีน้ำหนัก ก็จะส่งชุดเฉพาะกิจของมูลนิธิฯเข้าไปสืบก่อนล่วงหน้าว่าเป็นจริงที่ตามได้รับการร้องเรียนมาหรือไม่

มูลนิธินี้เป็นเพียงมูลนิธิเล็กๆที่ก่อตั้งโดยคุณปวีณา หงสกุลโดยคุณปวีณาบอกว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิดมูลนิธินี้ก็เพราะว่าเมื่อครั้งที่คุณปวีณาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านเกร็ดตระการ ซึ่งเป็นสถานที่ราชการรับเด็กและสตรีที่ถูกหลอกไปค้าประเวณีมาอบรมและฟื้นฟูจิตใจ เมื่อคุณปวีณาได้เห็นเด็กและผู้หญิงเหล่านั้นแล้วก็เกิดความสะเทือนใจเพราะด้วยตัวเธอเองก็มีลูกสาวเหมือนกัน และไม่คิดมาก่อนว่าชีวิตของคนเราจะถูกกระทำได้ขนาดนี้ จากนั้นเป็นต้นมาเธอก็เดินหน้าในงานช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ ถูกทารุณกรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยในเวลาต่อมาก็ได้จัดตั้งมูลนิธินี้ขึ้นมาโดยมีมิตรสหายและผู้มีอุปการคุณเป็นผู้สนับสนุน ในการทำงานของมูลนิธินั้นจะเข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่มีการร้องเรียน ร้องขอเข้ามาเท่านั้น

การตั้งมูลนิธิกองทุนสำหรับช่วยเหลือคนอื่น

มูลนิธิ หมายถึงองค์กรเอกชนที่ทำกิจกรรมใดก็ตามเพื่อวัตถุประสงค์ อันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่ส่วนรวม เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หรือ หากำไรเพื่อพออยู่ได้ เพียงพอที่จะทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรืออาจหมายถึง

มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศล สาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สังคมไทยในปัจจุบันมีปัญหาจำนวนมากที่รอคอยการแก้ไข แม้ว่าได้มีหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ หน่วยงานเหล่านี้ต้องใช้บุคคลากรจำนวนมากในการดำเนินการเพื่อให้การแก้ปัญหาในสังคมนั้นสำเร็จ แต่เนื่องด้วยขอบเขตและความต้องการความช่วยเหลือกว้างขวาง จึงทำให้หน่วยงานและบุคคลากรในการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคมยังไม่เพียงพอ

ในขณะเดียวกันยังมีคนในสังคมไทยอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีใจปรารถนาช่วยเหลือสังคม มีน้ำใจที่ดีงามในการช่วยเหลือผู้อื่น อาจมีทรัพย์ไม่มากนักในการช่วยเหลือแต่มีเวลา ความรู้ความสามารถและมีใจอาสา เพียงแต่ขาดโอกาสและช่องทางในการแสดงออกอย่างเพียงพอ ไม่รู้ว่าจะแบ่งปันน้ำใจที่ดีงามในการช่วยเหลือผู้อื่นของเขาได้ด้วยวิธีการใดและให้กับหน่วยงานใด

มูลนิธิพัฒนาก่อกำเนิดขึ้นจากความรัก ความเมตตา และจิตอันเป็นกุศลของผู้มีจิตศรัทธาในงานช่วยเหลือเด็กและเยาวชนผู้ด้อย โอกาส ร่วมกับ สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยต้องการให้เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสแต่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ยอมแพ้พ่ายต่อชีวิตที่ยากลำบากได้รับการสนับสนุนในด้านเงินทุนประกอบ อาชีพเสริมทักษะ และมีรายได้เพิ่มพูน นอกเหนือจาก การเรียนตามปกติเป็นการช่วยตัวเอง และครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง เด็กและเยาวชนที่ขอรับทุนอาจเสนอขอเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลหรือ ร่วมเสนอขอเป็นรายกลุ่มก็ได้ การได้รับเงินทุนสนับสนุนย่อมนำมาซึ่งทักษะในการประกอบอาชีพ และรายได้เพิ่มเติมในการช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาอีกส่วนหนึ่งด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ เด็ก และเยาวชน ผู้รับทุนย่อมมีกำลังใจในการยืนหยัดต่อสู้ชีวิตต่อไป เมื่อรู้ว่ายังมีผู้ใจบุญให้การสนับสนุนอยู่

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีจิตอันเป็นกุศล และประสงค์ที่จะช่วยสนับสนุนงานของมูลนิธิ ขอได้โปรดติดต่อขอบริจาคหรือเผื่อแผ่ความสุขของท่านเพียงไม่มากนัก แต่ยิ่งใหญ่มากในความรู้สึกของเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสที่ มูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา

การช่วยเหลือทางกองทุนสำหรับชุมชนเพื่อความมั่นคง

สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันมายาวนาน  มีสวัสดิการแบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง  แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่าง ๆที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์  องค์กรการเงิน  วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ในปี 2548 ขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับกองทุนสวัสดิการโดยการริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบล โดยให้มีการสมทบงบประมาณจากสามฝ่ายคือ ทุนจากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน ทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม  หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐบาลกลางและการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองทั่วประเทศ 5,500 กองทุน สมาชิกรวม 3.41 ล้านคน

สวัสดิการชุมชนคือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในท้องถิ่น ที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนความเข้าใจความเชื่อมั่นในแนวคิดอุดมการณ์สวัสดิการชุมชน ทีเน้นเรื่องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามแนวคิด ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรีให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทุนภายในจัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และปัญหาความต้องการของชุมชน ทั้งสวัสดิการที่ใช้เงินกองทุนและสวัสดิการที่เป็นการดูแลช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนสมาชิก สมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนครอบคลุมประชากรทั้งตำบล  กระจายทุกช่วงวัย  เพราะยิ่งมีสมาชิกมาก เงินสมทบจะมีมาก ความเสี่ยงในการที่จ่ายเงินสวัสดิการจะยิ่งน้อยลงเพราะมีการกระจายความเสี่ยงออกไปมากขึ้นกองทุนที่มีสมาชิกน้อยจะมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนที่มีสมาชิกมากมีความมั่นคงทางการเงิน เพราะสมาชิกจ่ายเงินสมทบครบถ้วน สม่ำเสมอ  มีการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ มีรายรับจากแหล่งอื่นๆของกองทุนอย่างต่อเนื่อง  สัดส่วนการจ่ายสวัสดิการให้สมาชิกและค่าใช้บริหารจัดการสัมพันธ์กับรายรับ  เน้นการพึ่งพาทุนภายในชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญการบริหารจัดการเปิดเผยโปร่งใส ระบบบัญชีการเงินถูกต้องทันเวลาและสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงานสู่สมาชิก  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะอย่างต่อเนื่อง