การส่งเสริมและพัฒนากองทุนเพื่อสตรีอย่างเป็นระบบ

ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสตรีจำนวนมาก

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวการขาดโอกาสในสังคม ปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติ และที่สำคัญโอกาสในการดึงศักยภาพของสตรีมีน้อย จึงต้องส่งเสริมและพัฒนาอีกมาก ดังนั้นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจึงถูกจัดเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและเสริมศักยภาพสตรีในทุกมิติ โดยนำศักยภาพและความแตกต่างระหว่างหญิงชาย ซึ่งนับว่าเป็นพลังสังคมอย่างหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้มีการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้ง เพื่อพัฒนาและขยายศักยภาพบทบาทสตรีให้เป็นพลังทางสังคมที่เข้มแข็ง สามารถช่วยนำพาและร่วมสร้างสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างสร้างสรรค์

การมีส่วนร่วมคิด ร่วมกันแก้ไขปัญหา และส่วนร่วมในการถกคิดปัญหาจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ในการรับฟังข้อคิดเห็น เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุง และให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มสตรี เพื่อให้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีนั้นพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม มีแหล่งเงินทุนสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสตรี เป็นลักษณะของแหล่งเงินทุนที่จะเน้นกิจกรรมในการเสริมสร้างทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาสตรี การรณรงค์ให้เข้าใจองค์กรสตรี เข้าใจผู้หญิงในทุกๆมิติ ในทุกเพศ และทุกวัย เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้กิจกรรมในการรณรงค์รวมถึงกิจกรรมในการส่งเสริมบทบาทหรือคุณภาพของสตรี

ยกระดับและเสริมศักยภาพสตรีในทุกมิติ

สร้างสังคมเสมอภาค สร้างสรรค์และสันติสุข โดยนำศักยภาพและความแตกต่างระหว่างหญิงชาย ซึ่งเป็นพลังสังคมอย่างหนึ่ง ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้มีการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและขยายศักยภาพบทบาทสตรี ให้เป็นพลังทางสังคมที่เข้มแข็ง สามารถช่วยนำพา และร่วมสร้างสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างสร้างสรรค์ และมีสันติสุข เพื่อให้โอกาสสตรีในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสตรี ขับเคลื่อนกองทุนให้สตรีได้รับประโยชน์จากกองทุนนี้ในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจุบันผู้หญิงเข้าไปมีส่วนในการทำงานและดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรี ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ หรือแม้แต่การทำงานที่เมื่อก่อนมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้ เช่น การขับรถส่งของรถเมล์ หรือแท็กซี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำงานเล็กๆน้อยๆอยู่กับบ้าน ซึ่งการมีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เม็ดเงินลงไปสู่กลุ่มเป้าหมายโดยตรงและควรเปิดกว้างให้ผู้หญิงทุกกลุ่มอาชีพสามารถเข้าถึงกองทุนดังกล่าวได้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพและขยายกิจการของตนเองได้อย่างเท่าเทียมกันให้มากที่สุด โดยอาจจะเลือกพิจารณาสนับสนุนกลุ่มผู้หญิงที่ด้อยโอกาส หรือที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับแรก